วิธีเตรียมความพร้อมในการ เตรียมตัวฉีดวัคซีน ป้องกันโควิด-19 ที่ดีควรทำอย่างไร หลังตลอดสองปีที่ผ่านมาผู้คนจำนวนทยอยฉีดวัคซีนป้องกันโควิด-19 กันอย่างต่อเนื่อง บางคนอาจเพิ่งเคยฉีดเป็นครั้งแรก และบางคนคงเว้นระยะนานจนหลงลืมวิธีเตรียมตัวไป เราเลยมาแนะนำวิธี เตรียมตัวฉีดวัคซีน ที่ถูกต้อง หลังประเทศไทยประสบปัญหาจากการระบาดของเชื้อไวรัสโควิด-19 มาต่อเนื่องถึงสองปี ทำให้ทุกภาคส่วนมีความเดือดร้อนกันเป็นอย่างหนัก และวิธีแก้ไขให้เราสามารถกลับมาใช้ชีวิตได้ตามปกติให้เร็วที่สุด ก็คือการฉีดวัคซีนเพื่อลดความรุนแรงของโรค ซึ่งตอนนี้ประชาชนส่วนมากก็ทยอยฉีดวัคซีนกันไปหมดแล้ว ทว่าความรุนแรงของโรคโควิด-19 ก็ยังมากขึ้น เพราะฉะนั้นทุกคนอย่าเพิ่งการ์ดตกและ เตรียมตัวฉีดวัคซีน เพื่อป้องกันตนเอง
ข้อแนะนำ เตรียมตัวฉีดวัคซีน ป้องกันโควิด-19
- เตรียมตัวฉีดวัคซีน ตรวจสอบร่างกายตนเอง
- ไม่อดนอน ต้องพักผ่อนให้เพียงพอ
- ดื่มน้ำให้เพียงพอ หลีกเลี่ยงเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ ชา และกาแฟ
- หากเจ็บป่วย มีไข้ มีอาการไม่สบาย ให้เลื่อนการฉีดวัคซีนออกไปก่อนอย่างน้อย 1-2 สัปดาห์
- สองวันก่อนและหลังฉีด ห้ามออกกำลังกายอย่างเด็ดขาด
- ผู้ที่มีโรคประจำตัว หรือมียาที่ต้องรับประทานอยู่เป็นประจำ ให้ปรึกษาแพทย์ประจำตัวก่อน
- รับประทานอาหารให้เรียบร้อยก่อนฉีดวัคซีน หากมียารักษาโรคประจำตัวก็รับประทานได้เลย
- ฉีดวัคซีนโควิด-19 หลังจากการฉีดวัคซีนอื่นอย่างน้อย 4 สัปดาห์
- กรณีตั้งครรภ์ที่อายุครรภ์น้อยกว่า 12 สัปดาห์ กรุณาแจ้งเจ้าหน้าที่ของสถานที่ที่รับการฉีดวัคซีน
- ผู้ป่วยโรคชนิดเฉียบพลัน เช่น หัวใจล้มเหลวเฉียบพลัน ความดันเลือดสูงฉุกเฉิน รอให้มีอาการให้คงที่ก่อนค่อยรับวัคซีน
- ผู้ที่มีประวัติแอนาฟิแลกซ์จากวัคซีนมาก่อน ให้ตรวจสอบส่วนประกอบของวัคซีนที่เคยมีอาการแพ้ เพื่อเข้ารับวัคซีนที่ไม่มีส่วนประกอบเดียวกัน
- ผู้ป่วยที่เพิ่งมีอาการแพ้หรืออาการยังไม่เสถียร หรือยังมีอาการที่เป็นอันตรายต่อชีวิต ได้แก่ โรคหลอดเลือดหัวใจตีบเฉียบพลัน ภาวะหัวใจล้มเหลวเฉียบพลัน โรคความดันเลือดสูงฉุกเฉิน โรคหลอดเลือดสมองเฉียบพลัน โรคปอดอุดกั้นเรื้อรัง โรคหืดที่มีอาการกำเริบ รวมถึงผู้ป่วยหลังรับการผ่าตัด แนะนำให้รับวัคซีนก็ต่อเมื่อควบคุมอาการได้คงที่แล้ว
- ผู้ป่วยที่มีระดับเม็ดเลือดขาวต่ำรุนแรง แนะนำให้รอจนกระทั่งผ่านพ้นช่วงเม็ดเลือดขาวต่ำรุนแรงก่อน เมื่อจำนวนเม็ดเลือดขาวชนิดนิวโทรฟิลเกิน 1,000 เซลล์ ต่อไมโครลิตรจึงสามารถเข้ารับวัคซีนได้
- ผู้ป่วยโรคเลือดที่ได้รับการรักษาด้วยการปลูกถ่ายเซลล์ต้นกำเนิด (สเต็มเซล) หรือที่ได้รับการบำบัดด้วยภูมิคุ้มกัน CAR-T cell แนะนำให้ฉีดวัคซีนหลังจากพ้น 3 เดือนไปแล้วเท่านั้น
- ผู้ป่วยที่ผ่าตัดปลูกถ่ายอวัยวะมาก่อน เช่น ไต ตับ ปอด หัวใจ สามารถเข้ารับวัคซีนเมื่อพ้น 1 เดือน
- ผู้ป่วยที่ได้รับการบำบัดด้วยแอนติบอดี้ หรือได้รับยาแอนติบอดี้มา หากเป็นผู้ป่วยโควิดที่ได้รับบำบัดด้วยพลาสมาจากผู้ป่วยที่หายแล้ว สามารถฉีดได้เมื่อพ้น 3 เดือน
ข้อแนะนำระหว่างเข้ารับการฉีดวัคซีนป้องกันโควิด-19
- เตรียมเอกสารที่ต้องใช้ในการเข้ารับการฉีดวัคซีนให้พร้อมเสมอ เช่น บัตรประชาชน ข้อมูลการลงทะเบียน เพื่อความสะดวกรวดเร็ว
- เดินทางมาถึงโรงพยาบาลก่อนเวลานัดอย่างน้อย 30 นาที
- ใส่เสื้อผ้าหลวมๆ เปิดหัวไหล่เพื่อให้สะดวกต่อการฉีดวัคซีน และต้องสวมหน้ากากอนามัยตลอดเวลา
- ล้างมือให้สะอาด และเว้นระยะห่างจากคนอื่นระดับหนึ่ง
- ผู้ที่มีโรคประจำตัวอยู่ใน 7 กลุ่มโรค ได้แก่ โรคหัวใจและหลอดเลือด โรคหลอดเลือดสมอง โรคทางเดินหายใจเรื้อรัง โรคอ้วน โรคไตวายเรื้อรัง โรคมะเร็ง โรคเบาหวาน ให้ปรึกษาแพทย์ประจำตัวก่อนฉีดวัคซีน
- ก่อนฉีดวัคซีน ไม่จำเป็นต้องหยุดยาหรือกินยาอะไรเพิ่มเติมที่นอกเหนือจากคำสั่งแพทย์
- เจ้าหน้าที่จะตรวจวัดอุณหภูมิร่างกาย ความดันโลหิต และค่าออกซิเจนในเลือดก่อนการฉีดวัคซีน
- แนะนำให้ฉีดแขนข้างที่ไม่ค่อยถนัด และงดใช้หรือเกร็งแขนข้างที่ฉีดวัคซีน
- ปฏิบัติตามคำแนะของเจ้าหน้าที่อย่างเคร่งครัด
ข้อแนะนำหลังรับการฉีดวัคซีนป้องกันโควิด-19
- ให้ท่านพักรอสังเกตอาการที่โรงพยาบาลหรือจุดที่ฉีดวัคซีน 30 นาทีอย่างเคร่งครัด อาการข้างเคียงหลังฉีดวัคซีนโควิด-19 ที่อาจเกิดได้ขึ้น เช่น
- อาการไม่รุนแรง คืออาการที่สามารถหายได้เองภายใน 3 วัน เป็นอาการทั่วไป เช่น มีไข้ต่ำ ปวดเมื่อยกล้ามเนื้อและตามข้อ หรือมีอาการปวด บวม แดง คันหรือซ้ำบริเวณที่ฉีดวัคซีน รู้สึกอ่อนเพลียและไม่สบายตัว ปวดศีรษะ คลื่นไส้อาเจียน หรือมีอาการชาเฉพาะจุด
- อาการรุนแรง คืออาการที่พบได้ไม่บ่อยหรือพบได้น้อย เช่น มีก้อนปูดขึ้นบริเวณที่ฉีดยา เวียนศีรษะและมึนงง มีอาการใจสั่น ปวดท้อง คลื่นไส้อาเจียน ความอยากอาหารลดลง มีเหงื่อออกมากผิดปกติ ต่อมน้ำเหลืองโต ปากเบี้ยว กล้ามเนื้ออ่อนแรง เสี่ยงชักหมดสติ มีอาการเหมือนเป็นไข้หวัดใหญ่ร่วมด้วย เช่น มีไข้ ไอ เจ็บคอ น้ำมูกไหล
- อาการแพ้วัคซีน เช่น มีไข้ขึ้นสูง มีอาการปวดศีรษะรุนแรง ความดันตก หลอดลมตีบ หายใจค่อนข้างลำบาก มีผื่นแดงขึ้นตามตัว หากค้นพบว่ามีอาการรุนแรงหลังการฉีดวัคซีนต้องรีบพบแพทย์เพื่อรักษาในทันที
- พยายามอย่าเกร็งแขนข้างที่ได้รับวัคซีน และอย่าใช้แขนยกของหนักอย่างต่ำ 2 วัน ถ้ามีไข้ไม่สบาย หรือมีอาการปวดเมื่อยมาก ให้รับประทานยาพาราเซตามอลขนาด 500 มิลลิกรัม 1 เม็ดเพื่อบรรเทาอาการ และรับประทานซ้ำได้โดยต้องห่างกันอย่างต่ำ 6 ชั่วโมง (ห้ามรับประทานยาพวก Brufen, Arcoxia, Celebrex เด็ดขาด)
- เมื่อพักรอดูอาการครบ 30 นาทีแล้ว เจ้าหน้าที่ก็จะทำการวัดความดันโลหิตอีกครั้งก่อนปล่อยตัวกลับ และเมื่อกลับบ้านแล้วยังต้องสังเกตอาการของตนเองต่ออีกอย่างน้อย 48 – 72 ชั่วโมง หากพบอาการผิดปกติที่มีความรุนแรง เช่น มีอาการชาครึ่งซีก แขนขาอ่อนแรง ปากเบี้ยว ให้รีบไปพบแพทย์ทันที
สรุป
วิธีการ เตรียมตัวฉีดวัคซีน ไม่ได้ยากและซับซ้อนอย่างที่คิด และแม้ว่าจะได้รับการฉีดวัคซีนแล้ว ก็ยังต้องปฏิบัติตามมาตรการป้องกันต่อไปอย่างเด็ดขาด ไม่ว่าจะเป็นการสวมใส่หน้ากากอนามัย การเว้นระยะห่าง และการล้างมือบ่อยๆ เพื่อไม่ให้เรากลายเป็นผู้แพร่เชื้อโควิด-19 แบบไม่ปรากฏอาการที่อาจจะเป็นสาเหตุให้ผู้ที่ยังไม่ได้รับการฉีดวัคซีนหรือผู้ที่สุขภาพไม่แข็งแรงติดเชื้อจากเราได้